ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย
The Royal College of Family Physicians of Thailand
เวลาทำการ : จันทร์ - ศุกร์
08:30 น. - 16:00 น.
thaifammed@gmail.com
02 -716-6651-2
หน้าแรก
งานวิชาการ
หน้าหลัก งานวิชาการ
ผลงานวิจัยแพทย์ประจำบ้าน
การนำเสนอของประธาน รว. และกรรมการ
ประชุมที่ผ่านมา
วารสาร PCFM
การศึกษาต่อเนื่อง (CME & Life Long Lerning)
VDO + Powerpoint
แนวทางปฏิบัติต่างๆ
หลักสูตรต่างๆ ของราชวิทยาลัย
เวชศาสตร์ครอบครัวการบริบาลแบบประคับประคอง
เวชศาสตร์ครอบครัวผู้สูงอายุ
เวชศาสตร์ครอบครัวการเสพติด
การประชุมวิชาการประจำปี
โครงการอบรมระยะสั้น
Coming soon
Coming soon
ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน
หน้าหลัก ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน
ประกาศ อฝส
สถิติการฝึกอบรม
อนุกรรมการ
สถาบันฝึกอบรม
แพทย์ประจำบ้าน
มคว
ประเมิน EPA
Portfolio
รายงานวิจัย
รายงานเยี่ยมบ้าน
โครงการชุมชน
พัฒนาอาจารย์
การสอบเพื่อหนังสืออนุมัติ
อัพเดท
ข่าวสาร
ประกาศ
กิจกรรม
อื่นๆ
สมาคม
ตรวจสอบสมาชิก
เกี่ยวกับเรา
รายนามอนุกรรมการ
ติดต่อ
02 -716-6651-2
ค้นหา
เมนู
หน้าแรก
งานวิชาการ
หน้าหลัก งานวิชาการ
ผลงานวิจัยแพทย์ประจำบ้าน
การนำเสนอของประธาน รว. และ กรรมการ
ประชุมที่ผ่านมา
วารสาร PCFM
การศึกษาต่อเนื่อง (CME & Life Long Lerning)
VDO + Powerpoint
แนวทางปฏิบัติต่างๆ
หลักสูตรต่างๆ ของราชวิทยาลัย
เวชศาสตร์ครอบครัวการบริบาลแบบประคับประคอง
เวชศาสตร์ครอบครัวผู้สูงอายุ
เวชศาสตร์ครอบครัวการเสพติด
การประชุมวิชาการประจำปี
โครงการอบรมระยะสั้น
Coming soon
Coming soon
ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน
หน้าหลัก ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน
ประกาศ อฝส
สถิติการฝึกอบรม
อนุกรรมการ
สถาบันฝึกอบรม
แพทย์ประจำบ้าน
มคว
ประเมิน EPA
Portfolio
รายงานวิจัย
รายงานเยี่ยมบ้าน
โครงการชุมชน
พัฒนาอาจารย์
การสอบเพื่อหนังสืออนุมัติ
อัพเดท
ข่าวสาร
ประกาศ
กิจกรรม
อื่นๆ
สมาคม
ตรวจสอบสมาชิก
เกี่ยวกับเรา
รายนามอนุกรรมการ
ติดต่อ
02-716-6651 ต่อ 2
ค้นหา
เมนู
โครงการชุมชน - ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย
หน้าหลักฝึกอบรมและสอบ
ประกาศ อฝส
สถิติการฝึกอบรม
สถิติการฝึกอบรม
จำนวนผู้ฝึกอบรม
อนุกรรมการ
อนุกรรมการ
จัดการสอบ
ตรวจงาน
ประเมินสถาบัน
หลักสูตร
สถาบันฝึกอบรม
แพทย์ประจำบ้าน
แพทย์ประจำบ้าน
ปี 1
ปี 2
ปี 3
มคว
มคว
ที่ปรึกษา MedEd
มคว 1
มคว 2
มคว 3
ประเมิน EPA
ประเมิน EPA
EPA 1
EPA 2
EPA 3
EPA 4
EPA 5
EPA 6
EPA 7
Portfolio
รายงานวิจัย
รายงานเยี่ยมบ้าน
โครงการชุมชน
พัฒนาอาจารย์
พัฒนาอาจารย์
การศึกษาต่อเนื่องด้านเวชศาสตร์ครอบครัว
รายชื่อผู้มี C10
รายชื่อผู้มีตำแหน่งวิชาการ
การสอบเพื่อหนังสืออนุมัติ
โครงการชุมชน
แนวทางการเขียนรายงานการดำเนินโครงการในชุมชน
ในหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
กำหนดให้แพทย์ประจำบ้านได้มีประสบการณ์ในการดำเนินโครงการสาธารณสุขในชุมชน เมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้น ผู้ดำเนินโครงการจะนำเสนอผลต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง (ผู้ให้ทุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นหรือที่ดูแลท้องถิ่นนั้น และกลุ่มหรือประชาการเป้าหมายที่โครงการเข้าไปดำเนินการ) ในรูปแบบการนำเสนอต่อที่ประชุม หรือการจัดทำรายงานที่เป็นรูปเล่ม
การจัดทำรายงานเป็นรูปเล่มที่มีคุณภาพ นอกเหนือจากการเสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว จะได้ประโยชน์เพิ่มคือ เป็นการเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการทั้งในด้าน กลวิธี วิธีการ กระบวนการดำเนินการ ที่ส่งผลสำเร็จ รวมถึงบทเรียนที่ได้จากโครงการ ที่ผู้อื่นที่สนใจ หรือมีภารกิจในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในลักษณะเดียวกัน จะนำไปดำเนินการในพื้นที่อื่น หรือประชากรกลุ่มอื่นได้อีกด้วย
ในการจะสื่อผลการดำเนินการโครงการ จึงจำเป็นจะต้องเขียนให้ผู้อ่านได้รับทราบและเข้าใจในเนื้อหาของรายงานอย่างเหมาะสม ด้วยองค์ประกอบ และลักษณะของเนื้อหาของรายงาน ดังต่อไปนี้ (ส่วนหัวข้ออื่น เช่น สมมติฐาน ขึ้นกับลักษณะของโครงการ ซึ่งผู้รายงานสามารถพิจารณาได้ตามความเหมาะสม)
1
. ปก
ประกอบด้วย
·
ชื่อโครงการ
·
กลุ่มผู้ดำเนินโครงการ
·
ระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกภาคปฏิบัติฯ
·
พ.ศ.ที่รายงาน
2. คำนำ
เป็นการแนะนำว่ารายงานเล่มนี้ เป็นของใคร เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ทำเพื่ออะไร (ในกรณีนี้ คือ เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว) เพื่อประโยชน์อะไร ต่อใคร อย่างกระชับ สั้น ๆ ลงท้ายด้วยระบุผู้รายงาน และวัน-เดือน-ปีที่รายงาน
3. สารบัญ
(อาจมีสารบัญตาราง และสารบัญภาพด้วย ถ้ามีจำนวนมาก)
4
. บทคัดย่อ
เป็นการย่อรายงานทั้งหมดอย่างกระชับกะทัดรัด (ความยาวไม่เกิน
2
/
3
หน้ากระดาษ
A4
) เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่ารายงานนี้
·
ความเป็นมาของโครงการ
·
ทำเพื่ออะไร ทำอย่างไร ประเมินผลอย่างไร และได้ผลเป็นอย่างไร
·
ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ
5
. บทนำ (หรือหลักการและเหตุผล)
เป็นการปูพื้นความรู้ความเข้าใจอย่างย่อกระชับ ให้กับผู้อ่านรายงานได้เข้าใจเช่นเดียวกับผู้ดำเนินโครงการว่าเรื่องที่ทำมีความเป็นมา/ความสำคัญอย่างไร นั่นคือ เหตุผล/ความเป็นมาที่พบปัญหานี้ และเหตุผลที่เลือกเรื่องนี้ โดยอ้างอิงข้อมูลสำคัญๆ ที่พบ เปรียบเทียบข้อมูลประกอบ และผลกระทบที่จะเกิดหากปล่อยไว้ ให้ผู้อ่านเห็นว่ามีความสำคัญจริง ทั้งนี้ต้องมีการอ้างแหล่งที่มา (
reference
) ด้วย
6
. เป้าประสงค์
เป็นการระบุว่า ในอนาคตหลังดำเนินโครงการ ผู้ดำเนินโครงการหวังว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีอะไรบ้าง
7
. วัตถุประสงค์
เป็นการระบุว่าเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ผู้ดำเนินโครงการต้องการให้เกิดอะไร/บรรลุอะไร วัตถุประสงค์ที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
·
ไม่มากข้อเกินไป (ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรเกิน
3
ข้อ)
·
ต้องจำเพาะ สามารถวัด/ประเมินได้
·
ถ้าโครงการทำให้เกิดผลอื่น หรือผู้ดำเนินการต้องการผลอื่น ให้แยกไว้ในหัวข้อผลกระทบแทน
8
.
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เมื่อดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์แล้ว จะส่งผลให้เกิดอะไรตามมาทั้งเมื่อจบโครงการ และในอนาคต ต่อทั้งประชากรเป้าหมาย ผู้ดำเนินโครงการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือระบบที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ไม่ใช่การนำวัตถุประสงค์มาเขียนซ้ำ
9
.
การทบทวนความรู้ที่เกี่ยวข้อง
เป็นการทบทวนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ทำที่ครอบคลุมถึง
·
ลักษณะ สถานการณ์ แนวโน้มของปัญหา
·
สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวกับปัญหา
·
ผลกระทบของปัญหา ในด้านต่าง ๆ
·
แนวทางการปรับปรุง พัฒนา แก้ไข ทั้งทางทฤษฎี และโครงการเกี่ยวข้องอื่น ๆ
โดยต้องมีการนำเสนอข้อมูลและอ้างอิงแหล่งที่มา (
reference
) ประกอบด้วย
10
.การดำเนินโครงการ
เป็นการนำเสนอว่า เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ มีกลวิธีและแนวทางอย่างไร ดำเนินการอย่างไร ทำอะไรบ้าง ตรงตามแผนหรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เพราะอะไร ในหัวข้อนี้ต้องให้รายละเอียดทุกขั้นตอนครบถ้วนในลักษณะที่ว่า ถ้าผู้อื่นต้องการจะทำโครงการแบบเดียวกันนี้ เมื่ออ่านรายงานในส่วนนี้แล้วสามารถดำเนินโครงการได้เลย โดยไม่ต้องวางแผนใหม่
11
.การประเมินโครงการ
·
จุดมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ของการประเมิน เพื่ออะไร เพื่อใช้ประโยชน์อะไร
·
ใช้ตัวชี้วัดอะไร มีเกณฑ์ (ถ้ามี) อะไร ใช้ข้อมูลอะไร
·
เป็นการประเมินชนิดใด
·
ใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการประเมิน
·
ใช้วิธีอย่างไรในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมถึงขั้นตอนการดำเนินการ
·
วิธีการ/ขั้นตอนการวิเคราะห์ผล การใช้สถิติประกอบ และการนำเสนอผล
ส่วนนี้ก็เช่นเดียวกับหัวข้อการดำเนินโครงการ คือ ต้องเขียนในลักษณะที่ว่า ผู้อ่านสามารถนำไปดำเนินการประเมินได้โดยไม่ต้องคิดรายละเอียดใหม่
12
.ผลการดำเนินโครงการ
รายงานผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการทุกอย่าง ทั้งในส่วนที่เป็น
Input, process, output
และปัญหาอุปสรรค ซึ่งรวมถึงผลที่ได้จากการประเมิน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการตอบวัตถุประสงค์
การนำเสนอให้เขียนในลักษณะพรรณนา การ “แปลผล” ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นหัวข้อๆ โดยใช้ตารางหรือภาพประกอบการพรรณนา ไม่เขียนในลักษณะบรรยายใต้ภาพ (เขียนพรรณนา แล้วจึงต่อด้วยภาพ หรือตาราง ไม่ใช่เสนอตาราง/ภาพก่อนเขียนผล)
13
.วิจารณ์หรืออภิปรายผล
เป็นการอภิปรายผลการดำเนินโครงการที่สรุปไว้ในหัวข้อที่ผ่านมา อธิบายว่า
·
ผลที่ได้จากการวิเคราะห์/แปลผล มีความหมายอย่างไร
·
ที่ได้ผลเป็นเช่นนั้นเป็นเพราะอะไร
·
ผลที่ได้นี้จะส่งผลต่ออะไร/อย่างไรบ
ทั้งนี้อาจต้องเปรียบเทียบกับข้อมูลจากแหล่งอื่น เช่น รายงานประจำปี รายงานโครงการที่คล้ายคลึงกันที่ทำที่อื่น (ซึ่งต้องอ้าง
reference
ด้วย)
นอกจากนั้นการอภิปราย จะครอบคลุมถึงเหตุและปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินโครงการ และที่ส่งผลให้เกิดปัญหาอุปสรรคด้วย การอภิปรายและวิจารณ์ที่ดี จะนำไปสู่สรุป และให้ข้อเสนอแนะได้ชัดเจน เป็นรูปธรรม
14
.สรุปข้อเสนอแนะ
เป็นการสรุปผลการดำเนินโครงการอย่างกระชับ ต่อจากการสรุปเป็นการให้ข้อเสนอแนะโดยอาศัยประเด็นสำคัญที่ได้จากการอภิปรายผล ทั้งนี้อาจเป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกลวิธีการทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาเทคนิคที่สำคัญที่ค้นพบจากโครงการ ขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินการ การประเมินผล ฯลฯ
15
.เอกสารอ้างอิง
เป็นรายการเอกสารที่อาจเป็นหนังสือ รายงานโครงการ รายงานวิจัย หรือเอกสารวิชาการอื่นๆ ที่ใช้อ้างในส่วนของ บทนำ (หรือความเป็นมา หรือหลักการและเหตุผล) การทบทวนวรรณกรรม/ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และอภิปราย/วิจารณ์ผล
สิ่งที่ไม่เป็นที่ยอมรับในการใช้อ้างอิงคือ บทความในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร แผ่นปลิวหรือแผ่นพับ และเอกสารโรเนียวที่ไม่มีรูปแบบวิชาการครบถ้วน
การเขียนให้ใช้รูปแบบที่แนะนำไว้ในวารสาร “สงขลานครินทร์เวชสาร” ซึ่งใต้รูปแบบของ
Index Medicus
(ระบบ
Vancouver
) เรียงลำดับเลขจากการถูกอ้างอิงก่อน-หลัง
16
.ภาคผนวก
รายละเอียดต่างๆ ที่ผู้รายงานใช้ประกอบในการรายงาน แต่มีรายละเอียดมากเกินไป ถ้าใส่ไว้ในเนื้อรายงานจะทำให้เทอะทะ หรือเยิ่นเย้อเกินไป เช่น โครงการที่เขียนไว้ก่อนดำเนินโครงการ แบบประเมินต่างๆ สูตรการคำนวณ เป็นต้น
การจัดเรียงให้เป็นไปตามลำดับที่ถูกอ้างถึงในเนื้อรายงาน โดยระบุด้วยว่า ชิ้นใดเป็นภาคผนวกที่เท่าไร เช่น ภาคผนวกที่
1
โครงการ……………ภาคผนวกที่
2
แบบสำรวจ……………
เอกสารอ้างอิง
กอปรชุษณ์ ตยัคคานนท์. การเขียนรายงานโครงการสาธารณสุข. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
,
2552
.